ประวัติพิธีลอยอังคาร

ship fleet 713 11 exposure

ประวัติความเป็นมา
    พิธีลอยอังคาร หมายถึง การนำเอาเถ้าถ่านที่เหลือจากการเผาศพไปลอยในแม่น้ำอันเป็นความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวอินเดีย ซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู โดยที่พิธีศพของชาวฮินดูจะนิยมนำมาเผาที่ริมน้ำ และหลังจากการเผาแล้ว จะไม่เก็บกระดูกมารักษาไว้เหมือนอย่างประเพณีนิยมของไทย (ภาพดังกล่าวเห็นได้จากประเพณีปฏิบัติของชาวฮินดูที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เมือพาราณสี ประเทศอินเดีย) โดยมีความเชื่อว่าจะทำให้ผู้ล่วงลับได้ไปสู่สรวงสวรรค์

  • 001-1
  • 001-2
  • 001-3
  • 001-4
  • 001-5
  • 002
  • 003
  • 004
  • 005
  • 006
  • 007
  • 009

ความมุ่งหมาย
    คนไทยถือคติตามผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ - อินดู จึงได้ประกอบพิธีลอยอังคารขึ้น ซึ่งถือว่า
เป็นพิธีการสุดท้ายในขั้นตอนการจัดพิธีศพ คือการนำอัฐิและอังคารส่วนหนึ่งไปไว้ในที่อันเหมาะสม โดยถือปฏิบัติตามคตินิยมที่ว่า “ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วจะมีความร่มเย็นเป็นสุขปราศจากความทุกข์เดือดร้อน” บรรดาญาติของผู้ตายมีความประสงค์ให้ผู้ตายแม้ว่าเกิดในที่ใดๆ ก็ให้อยู่เป็นสุขเหมือนน้ำที่มีแต่ความชุ่มเย็น จึงได้มีการนิยมลอยอังคารในน้ำ
การบำเพ็ญกุศล
    ก่อนจะนำอังคารไปลอยตามวันที่กำหนด นิยมบำเพ็ญกุศลบังสุกุลให้เสร็จเรียบร้อยก่อนนำอังคารลงเรือ จะทำก่อนหลายวันหรือทำในวันลอยก็ได้ สำหรับการนิมนต์พระสงฆ์จำนวนกี่รูปขึ้นอยู่กับศรัทธาของเจ้าภาพ (๑ - ๔ รูป)
อย่างไรก็ตามเนื่องจากพระสงฆ์มีข้อจำกัดในการปฏิบัติแตกต่างจากฆราวาส การนิมนต์พระสงฆ์ลงไปในเรือเพื่อประกอบพิธีบังสกุลอาจจะไม่สะดวกและเกิดความยากลำบาก
แต่หากพระสงค์ท่านมีเมตตาจะประกอบพิธีดังกล่าวให้ก็สมควรนิมนต์ลงไปกับเรือ

  • 45619
  • S__27025443
  • S__27025445
  • S__27025446
  • S__27025447
  • S__27025448
  • S__27025449
  • S__27025450
  • S__27025451
  • S__27025452
  • S__27025453
  • S__27025454
  • S__27025456
  • S__27025457
  • S__27025458
  • S__27025459
  • S__27025460
  • S__27025461
  • S__27025462
  • S__27025463
  • S__27025464